top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนDr.Parichat Varavarn Na Ayudhya

สื่อสารแบรนด์ยังไงให้น่าสนใจด้วย Brand Canvas

อัปเดตเมื่อ 8 ก.ค. 2561



มีไม่กี่แบรนด์ในโลก อย่างเช่น Google, Apple หรือ Coca Cola ที่ทรงพลังและมีความหมายกับผู้คนทั่วโลก ไม่ว่าพวกเขาจะขายผลิตภัณฑ์อะไร มักจะได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าอย่างง่ายดาย แน่นอน สองแบรนด์แรกอาจจะดูเหมือนขายตัวเองได้ด้วยนวัตกรรม แต่นั่นก็ไม่ใช่เหตุผลหลักเสมอไป..การสร้างตราสินค้าหรือการสร้างแบรนด์ เป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญ "อย่างจริงจรัง"เพราะนอกจากผลิตภัณฑ์หรือบริการของเราจะดีและเป็นที่ชื่นชอบ คุณควรทำให้ลูกค้ารักและภักดีในแบรนด์ด้วย การสร้างแบรนด์ควบคู่ไปกับการสร้างสรรค์และพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ความภักดียิ่งเหนียวแน่น ภาวะที่ลูกค้าจะเกิด brand switching หรือเปลี่ยนไปใช้แบรนด์อื่น ก็จะเกิดได้ยากขึ้นหรือชะลอให้ช้าลง


จากการสำรวจของ Nielson’s Global New Product Innovation Survey พบว่า ผู้ตอบทั่วโลกเกือบ 6 ใน 10 (59%) ชอบซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ จากแบรนด์ที่พวกเขาคุ้นเคยและ 21% กล่าวว่าพวกเขาซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่พวกเขาชอบ

แล้วการสร้างแบรนด์นี่ดียังไง?

ขออนุญาตยกบทสรุปจาก คุณบัณฑิต อึ้งรังษี ที่ได้เกริ่นถึงประโยชน์ของการสร้างแบรนด์ (ทั้งแบรนด์ธุรกิจ และแบรนด์ตัวตน) ได้อย่างกระชับและเข้าใจง่ายๆ ออกมาได้ 12 ข้อดังนี้ค่ะ

1. การสร้างแบรนด์ = การสร้างทรัพย์สินที่ยั่งยืน ไม่ใช่แค่ซื้อมาขายไป

2. ไม่ต้องเหนื่อยเรื่องคู่แข่ง เพราะแบรนด์เรามีลูกค้ารัก ที่ซื่อสัตย์

3. ไม่ถูกตัดราคาจากคู่แข่ง no name

4. ลูกค้าซื้อบ่อยขึ้น เยอะขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องลดราคา

5. ชีวิตง่ายขึ้นมาก และกำไรหลักร้อยล้านพันล้านบาท ไม่ใช่เรื่องแปลก

6. ออกสินค้าใหม่ที่เสริมจากสินค้าเดิม ง่ายกว่ามาก

7. ได้พนักงานที่มีคุณภาพกว่า และได้มาง่ายกว่า และอยู่กับเรายั่งยืน

8. เจ้าของแบรนด์ได้ market share เพิ่มขึ้น, นักลงทุนสนใจ และเพิ่มมูลค่าให้บริษัท

9. สามารถใช้แบรนด์บุคคล (Personal Brand) ขยายผลได้ (ถ้าทำเป็น)

10. ในยุค AEC นี้ คนมีแบรนด์หรือเป็นเจ้าของแบรนด์ จะรุ่ง ...คนไม่มีแบรนด์ จะเหนื่อยตลอด

11. ในยุคใหม่นี้ ธุรกิจหรือคนที่แบรนด์ไม่เป็นที่รู้จัก จะอยู่ไม่รอด

12. การสร้างแบรนด์ เป็นวิธีเดียว ที่จะทำให้คุณเป็น “เจ้าตลาด”ได้

ที่มา https://www.facebook.com/BunditUngrangsee/posts/1139585762748357


ถ้าอยากจะสร้างแบรนด์จะเริ่มต้นยังไงดี?

เกริ่นมาถึงตอนนี้ เพราะบังเอญไปพบว่ามีเครื่องมืออยู่ตัวหนึ่ง เรียกว่า "Brand Canvas" เป็นเครื่องมือที่เหมาะมาก สำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นสร้าง และ สื่อสารแบรนด์ แต่ไม่รู้จะเริ่มยังไง มาดูการใช้เครื่องมือนี้กันทีละขั้นตอนเลยดีกว่านะคะ


เมื่อพูดถึงองค์ประกอบของตราสินค้า ทุกแบรนด์จะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 สิ่ง คือ

  1. เรื่องราว (Story)

  2. สัญลักษณ์ (Symbols)

  3. กลยุทธ์ (Strategy)


แบรนด์ที่ยิ่งใหญ่มักมีเรื่องราวให้บอกเล่าเสมอ (Great Brands Tell A Story)


แบรนด์ที่มี "เรื่องเล่า" (Brand Story) นอกจากจะช่วยสร้างความรู้สึกให้นึกถึงพลังที่ยิ่งใหญ่ของแบรนด์แล้ว ยังเป็นเรื่องง่ายที่จะทำให้ลูกค้า "จดจำ" และพูดถึงได้ถึงแม้ตลาดของแบรนด์นั้นๆ จะมีการแข่งขันสูงมากเพียงใด ความโดดเด่นของ "เรื่องเล่า" จะทำให้ลูกค้า แยกความแตกต่างของเราออกมาได้ไม่ยาก ยิ่งเรื่องราวของแบรนด์ ใกล้เคียงประสบการณ์ที่ลูกค้าต้องการมากขึ้นเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะรับรู้แบรนด์ของคุณได้มากขึ้นเท่านั้น

ในงาน Ted Talk ปี 2009 Simon Sinek ได้บอกเล่า "เรื่องราว" ถึงสิ่งที่เขาเรียกว่า Golden Circle ซึ่งเขาได้นำเสนอแนวคิดและเหตุผลที่ทำให้ Apple สามารถประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่อง เป็นเพราะพวกเขาทำทุกสิ่งทุกอย่างตามความเชื่อที่ว่า "Start With Why? " กลยุทธ์การตั้งคำถามที่จะทำให้คุณชนะทุกสิ่ง

Simon ยังได้บอกเล่า "เรื่องราวของต้นกำเนิดในการสร้าง Apple Watch" ว่า "ภารกิจอันทรงเกียรติที่อยู่เบื้องหลังการผลิตนาฬิกาอัจฉริยะ ไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับเงินส่วนแบ่งการตลาด การแข่งขัน หรือสิ่งใดก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการทำให้ชีวิตคุณกลับมา เกี่ยวกับการทำให้คุณใช้เวลากับคนอื่นให้มากขึ้น แทนที่จะโดนรบกวนด้วยการถูกดึงออกไปเพื่อสนทนาโทรศัพท์ และเพื่อให้คุณได้ใช้บริการสมาร์ทโฟนของคุณได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจากการตั้งคำถามว่า "ทำไม"


เรื่องราว (Story) ประกอบด้วย

1. ชื่อ (Name) สิ่งที่คุณต้องการให้ผู้คนเรียกขานและจดจำแบรนด์ของคุณ

2. การใช้ข้อความเพื่อแสดงตำแหน่งทางการตลาด (Positioning Statement) - ตัวอย่างเช่น

สำหรับ (กลุ่มเป้าหมาย) นั้น (ผลิตภัณฑ์/แบรนด์) คือ (แนวคิด) ที่ (ความแตกต่าง) = สำหรับ คนรักเค้ก นั้น ขนมเค้ก Yummny คือ ความอร่อย ที่ มีแคลลอรี่ต่ำ แต่ยังคงรสชาดความอร่อยไว้ได้อย่างที่เรียกว่า "อร่อยได้ไม่ต้องกลัวอ้วน"

3. คำมั่นสัญญาของแบรนด์ (Promise) - คำมั่นสัญญาว่าคุณจะมอบอะไรให้กับลูกค้าเป้าหมายของคุณ

Brand Promise = We Promise to Verb (How) + Target (Who) + Outcome (What)



4. บุคลิกภาพแบรนด์ (Brand Personality) - ให้ลองนึกคำอธิบาย 6 คำ ที่อธิบายลักษณะบุคลิกภาพของ แบรนด์ของคุณได้ดีที่สุด



5. ภาพรวมของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของคุณ (Personas) - โดยปกติเรามักเข้าใจผิดระหว่างการสร้าง Customer Profiles และ Personas แบบแรก Customer Profiles คำนี้เราจะใช้กับลูกค้าปัจจุบันที่มีอยู่ในความเป็นจริง และเรานำดาต้าที่มีอยู่ มาสร้างเป็นหน้าตาลูกค้าเพื่อทำความเข้าใจ แต่ในส่วนของ Personas นั้น หมายถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เรามุ่งหวัง เป็นการสร้างตัวตนสมมุติขึ้นมาก่อน เพื่อใช้ในการทำการตลาด ลองใช้เวปนี้ดูนะคะ https://xtensio.com/templates/ จะช่วยให้คุณสร้าง personas ได้ง่ายขึ้นมากเล้ย เพราะมี template ให้เลือกใช้มากมาย

6. Storyboard - ลองนำข้อมูลที่ได้ทั้งห้าข้อแรก มาสรุปเรื่องราว เล่าให้เป็นภาพที่น่าสนใจเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณดูนะคะ ลองดูไอเดียจากเวปนี้เลยค่ะ สร้าง storyboard ได้ด้วยตัวเอง https://www.canva.com/create/storyboards/



แบรนด์ที่ยอดเยี่ยมจะสื่อสารในสิ่งที่สายตามองเห็น ดังเช่น "สัญลักษณ์" (Great Brands Communicate Visually with Symbols)


คนส่วนใหญ่คิดว่าการสร้างแบรนด์เป็นเพียงสัญลักษณ์หรือการพิมพ์ตัวอักษร แต่ความจริงก็คือ แบรนด์ เป็นเรื่องราวที่ฝังอยู่ในจิตใจของผู้คนเมื่อพวกเขาคิดถึงธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของคุณ ดังนั้นโลโก้หรือสัญลักษณ์ที่แบรนด์ใช้ จึงควรสามารถถ่ายทอดเรื่องราวผ่านสัญญลักษณ์นั้นให้ผู้คนจดจำได้อีกด้วย ลองจินตนาการว่า หากวันนึงมีคนทำสินค้าลอกเลียนแบบคุณ ลูกค้ายังจะจดจำคุณได้จากสัญญลักษณ์และเรื่องราวที่คุณได้สร้างขึ้นเป็นตราสินค้า สิ่งเหล่านี้ ทำให้ลูกค้าแยกแยะออกว่าอะไรคือสินค้าของจริง หรือของปลอม ภาพหรือสัญลักษณ์ที่สื่อถึงแบรนด์ในส่วนนี้ควรประกอบด้วย


  1. โลโก้ (Logo) - สัญลักษณ์หลักที่องค์กรของคุณใช้ในการสื่อสารเป็นเรื่องราวแบรนด์ ลองดูทางเลือกเวปการดีไซน์โลโก้ ได้ฟรี https://www.freelogoservices.com/testimonials หรือจะใช้ bot ช่วยดีไซน์ https://www.wix.com/logo/maker ลองดูกันได้ค่ะ

  2. ชุดสี (Color Palette) - ชุดสีที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ

3. ชุดตัวอักษร (Typography) - ชุดตัวอักษรที่นำเสนออารมณ์อารมณ์เกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ

4. ภาพ (Imagery) - ที่สอดคล้องกันเกี่ยวกับแบรนด์ของคุณ

website ที่ใช้ภาพได้ฟรี เช่น https://pixabay.com/


แบรนด์ที่ดีต้องสื่อสารอย่างมีกลยุทธ์ (Great Brands Communicate Strategically)


นอกจากความสามารถในการเล่าเรื่องแล้ว วันนี้แบรนด์หรือธุรกิจ มีช่องทางในการสื่อสารแบรนด์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น โซเชียลมีเดีย เวปไซต์ หรือ โมบายแอพ ที่สามารถใช้บอกเล่าเรื่องราวของคุณได้อย่างไม่จำกัด การวางกลยุทธ์

สื่อสารแบรนด์จึงมีความจำเป็นต้องถูกพูดถึงในแบบที่เรียกว่า ถูกที่ ถูกเวลา และตรงกลุ่มเป้าหมาย แบรนด์ควรทำการวิเคราะห์ brand touchpoint หรือจุดปะทะของแบรนด์กับลูกค้า เพื่อเลือกช่องทางและเครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

  1. การรับรู้ (Awareness) - ช่องทางและวิธีการที่คุณจะใช้เพื่อช่วยให้ลูกค้าเป้าหมายของคุณตระหนักถึง แบรนด์ของคุณในตอนแรก

  2. Sale - ช่องทางและวิธีการที่คุณจะใช้เพื่อช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นในระหว่างการขาย

  3. ระหว่างการส่งมอบแบรนด์ (Delivery) - ช่องทางและวิธีการที่คุณจะใช้เพื่อช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นในระหว่างประสบการณ์การในการส่งมอบแบรนด์

  4. หลังการส่งมอบแบรนด์หรือใช้แล้ว (Post-Delivery or Use) - ช่องทางและวิธีการที่คุณจะใช้เพื่อช่วยให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นในระหว่างการขายหลังการขายหรือการใช้งาน

ตัวอย่างของแบรนด์ Starbuck ค่ะ


เมื่อเข้าใจ องค์ประกอบ 3 ส่วนหลักแล้ว ให้นำมาผสมผสานรวมกันบนผืนผ้าใบแบรนด์นี้




หลังจากที่ทำเสร็จแล้ว หน้าตาจะออกมาประมาณนี้ค่ะ


เมื่อเราได้ส่วนประกอบต่างๆ ที่มาประกอบขึ้นกันเป็นภาพรวมให้เห็นแล้ว ทั้งแนวคิดการสร้างเรื่องราว การใช้สัญลักษณ์ หรือภาพที่สะท้อนเรื่องความเป็นตัวตนของแบรนด์ ก็เริ่มลงมือสื่อสารกันได้เลย ผ่านช่องทางการสื่อสารที่วางไว้ ตามงบประมาณ และเหมาะกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งลูกค้าเดิม และลูกค้าใหม่..


นี่เป็นเพียงวิธีง่ายๆ ที่จะทำให้เราสามารถสื่อสารแบรนด์ ได้อย่างมีสีสัน โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "Brand Canvas" เหมาะมากๆ กับผู้ที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไง ยังไงลองทำกันดูนะคะ..ยิ่งช่วยกันทำเป็นแนว Workshop ร่วมกันในทีมเพื่อช่วยกันคิด จะยิ่งสนุกกับการทำไปด้วย ...."Let's try" ^^


source : https://www.theinnovativemanager.com/the-brand-canvas-how-to-create-and-communicate-a-compelling-brand/

ดู 3,113 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page