top of page
ค้นหา
  • รูปภาพนักเขียนDr.Parichat Varavarn Na Ayudhya

อิทธิพลทางจิตวิทยาในโลกดิจิทัลของเรา Psychology’s influence on our digital world

อัปเดตเมื่อ 17 ก.ย. 2561



ทุกวันนี้ เทคโนโลยีได้ทำหน้าที่เสมือนตัวกลาง เชื่อมโยงผู้คนจากหลากหลายสถานที่ทั่วทุกมุมโลก หลายชาติหลายภาษาเข้าไว้ด้วยกัน (Human Relationship) บนสิ่งที่เรียกว่าแพลตฟอร์ม (Platform) เกิดเป็นกิจกรรมดิจิทัลของคนที่มีความชอบอะไรเหมือนกัน มาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น ดนตรี มารู้ตัวอีกที ก็กลายเป็นสาวกอยู่สังคมพอดคาสต์ด้วยกันเสียแล้ว นักจิตวิทยามีความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อจะหาวิธีและเหตุผลที่วา ทำไมผู้คนจึงชอบใช้อุปกรณ์ เช่นสมาร์ทโฟนหรือเครื่องมือติดตามกิจกรรมไม่ว่าจะเป็น Smartwatch หรือ Application ต่างๆ อุปกรณ์เหล่านี้ เพื่อมาช่วยติดตามอารมณ์ความรู้สึกของเรา กิจกรรมของเรา และยังสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมกับคนอื่นๆ ได้มากขึ้น


จากหนังสือ Behavior Change Research and Theory: Psychological and Technological Perspectives (อ้างถึงใน บทวิจารณ์หนังสือ Book Review โดย จันทิมา เขียวแก้ว) ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับการวิจัยและทฤษฎีที่อธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบดิจิทัลของมนุษย์ โดยผู้เขียนให้ความหมายของ


“การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบดิจิทัล” หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อ

(1) ส่งเสริมกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น แอปพลิเคชั่นเตือนให้เราดื่มน้ำ ให้เราลุกเดินหรือออกกำลัง (2) ขยายหรือปรับสภาพแวดล้อมในบริบทที่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ยกตัวอย่างโครงการ BinCam ซึ่งเป็นโครงการที่นำอุปกรณ์สมาร์ทโฟนมาติดตั้งไว้ในฝาถังขยะ เพื่อใช้ในการบันทึกภาพเมื่อมีการเปิดฝาถังเพื่อทิ้งขยะ และตรวจจับพฤติกรรมการทิ้งขยะอาหารในบ้านเรือน ภาพที่บันทึกไว้จะถูกส่งไปยังผู้วิจัยเพื่อนำไปวิเคราะห์ และหาวิธีการโน้มน้าวใจให้บุคคลเกิดพฤติกรรมในการลดการทิ้งขยะที่เป็น อาหารในครัวเรือน (3) กระตุ้นให้เกิดรูปแบบเฉพาะของการมีปฏิสัมพันธ์ที่เป็นรากฐานของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ในงานวิจัยต่างๆ เรามักพบว่า การสร้างรูปแบบของการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับกลุ่มเป้าหมายตามกระบวนการจิตวิทยา 3 ประการ เพื่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ คือ การเตือน (Reminder) การให้รางวัล (Reward) และการตอบกลับทันที (Instant feedback)


จะพบว่าหนังสือเล่มนี้ ตระหนักถึงบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีที่มีต่อการพัฒนารูปแบบและเทคนิคการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การใช้สมาร์ทโฟนมาเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการสื่อสารสารสนเทศ ที่มุ่งโน้มน้าวจิตใจ กลุ่มเป้าหมายให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และยังสามารถนำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย หรือ ประเมินประสิทธิผลของการดำเนินงานได้สะดวกและรวดเร็ว


ดังนั้น การนำเทคโนโลยีการสื่อสารออนไลน์มาใช้ในการสร้างแรงจูงใจและโน้มน้าวให้บุคคลเกิดการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมเช่น เรื่องสุขภาพหัวใจสำคัญคือ สารสนเทศรูปแบบต่าง ๆ ที่ถูกเลือกนำมาใช้ใน Application ที่สร้างขึ้น เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง


จากที่เกริ่นมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่า รูปแบบการสื่อสาร (Format) มีบทบาทอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงประสบการณ์การรับรู้ของมนุษย์ (Sense of Experience)ไปด้วย และที่สำคัญ การออกแบบสินค้าและบริการในโลกยุคใหม่ จึงควรมีสิ่งสำคัญ 3 ข้อที่ได้กล่าวถึงเอาไว้ในตอนต้น


การใช้กลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผ่านเว็บเทคโนโลยี มีประโยชน์ในเชิงการบริหารจัดการ ทรัพยากร และเป็นที่เข้าใจสอดคล้องกันว่าการใช้เทคโนโลยีในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องเน้นให้เกิดผลต่อผู้ใช้เทคโนโลยีปลายทาง (End users) และให้ความสำคัญต่อกลุ่มเป้าหมาย มากกว่าการยอมให้ เทคโนโลยีมาครอบงำกระบวนการเปลี่ยนแปลง

กล่าวโดยสรุปคือ แนวความคิดเรื่อง “Digital behavior change” ในรูปแบบที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ ยึดหลักการใช้แผนที่ความคิดมาจัดการความรู้และกระบวนการคิดของบุคคลที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ไม่ใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวกำหนดกระบวนการ แต่ให้คำนึงก่อนว่าพฤติกรรมอะไรที่ต้องการเปลี่ยนแปลง แล้วจึงเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในราคาที่เหมาะสม และพิจารณาว่าทำไมจึงต้องใช้เทคโนโลยีนั้นๆ และควรจะใช้เมื่อไร


อ้างอิง บทวิจารณ์หนังสือ บทวิจารณ ์ หนังสือ Book Review โดย จันทิมา เขียวแก้ว Behavior Change Research and Theory: Psychological and Technological Perspectives

file:///C:/Users/USER/Downloads/105750-Article%20Text-268939-1-10-20171217%20(1).pdf

ดู 1,181 ครั้ง1 ความคิดเห็น
bottom of page